วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562

พูดดีคนฟัง ถึงพูดไม่ดัง ก็โดนใจ

การสื่อสาร เพื่อความปลอดภัย
.
ประโยคเหล่านี้...น่าจะเป็นประโยคที่ทุกๆ คนคุ้นเคยกันดี
"ให้คิดก่อนพูด"
"สิ่งหนึ่งที่เอาคืนมาไม่ได้ คือ เวลา โอกาส และ คำพูด"
"เราเป็นนายคำพูด แต่หลังจากที่เราพูดออกไปแล้ว คำพูดจะเป็นนายเรา"
.
สำหรับคุณแล้วเมื่อคุณได้ยิน ได้ฟังอะไรต่างๆ คุณรับรู้สิ่งที่ผู้อื่นพูด (คุณฟัง) ได้มากน้อยแค่ไหน...และพูดตอบกลับออกไปอย่างไร...
.
คุณเพียงรับรู้ได้แค่...คำพูด อารมณ์ของผู้พูด และคุณก็สะท้อนคำพูดของคุณด้วยอารมณ์และคำพูดในทำนองเดียวกันที่คุณรับรู้มาหรือเปล่า...
แล้วผลลัพธ์ของการพูดในครั้งนั้นของคุณเป็นอย่างไร... ความสัมพันธ์ของคุณกับคน/กลุ่มคนที่คุณพูดด้วยหลังจากการพูดเสร็จสิ้นลงเป็นอย่างไร...
.
หากคำตอบของคุณ คือ ผลลัพธ์และความสัมพันธ์หลังการพูด เมื่อการพูดของคุณเสร็จสิ้นลง ยังไม่เป็นที่พอใจ...
.
ลองพูดแบบได้ใจ แทนการพูดแบบพ่นพิษออกไป เพื่อเชื่อมใจมิตรแทนการสร้างศัตรูกัน...จะดีกว่าไหม
.
เรารู้ดีว่าการ พูดดี ก็จะได้สิ่งดีๆ กลับมา และคำพูดของเราสะท้อนโลกภายในหรือตัวตนของเรา
.
ก่อนที่เราจะพูด...เริ่มจากการที่เราฟัง โดยต้องฟังให้ได้ ด้วยหู, ฟังด้วยตาและฟังด้วยใจ
ฟังด้วยหู : ฟังคำพูดที่พูดออกมา
ฟังด้วยตา : ฟังให้ลึกถึงความรู้สึกของผู้พูดและพฤติกรรมที่เขาแสดงออก (โทนเสียง, สีหน้า ท่าทาง)
ฟังด้วยใจ : ฟังให้รู้ถึงเจตนาของผู้พูด สิ่งที่เขาให้ความสำคัญ ให้คุณค่า สิ่งที่เขาแคร์และความต้องการจริงๆ จากสิ่งที่เข้าพูด
.
เมื่อเราฟังและรับรู้สิ่งที่ผู้อื่นพูดได้ด้วยหู ตาและใจแล้ว
หยุด!!! ถามตัวเองสักนิด หากคุณจะพูดออกไป “คุณอยากได้ผลลัพธ์และความสัมพันธ์แบบใด หลังการพูดของคุณจบสิ้นลง”
.
หากต้องการผลลัพธ์และความสัมพันธ์แบบบวก ความรู้สึกแบบบวกๆ (ผลลัพธ์ที่ดี ความสัมพันธ์ที่ดี)
**เปลี่ยน…การฟังเพื่อตัดสินสิ่งที่คุณได้ฟัง เป็นการเข้าใจถึงเจตนาและความต้องการของผู้พูด เปลี่ยน…การพูดตอบกลับจากการใช้อารมณ์หรือการออกคำสั่งเป็นการพูดด้วยความห่วงใย เข้าใจ เพื่อเชื่อมสะพานความสัมพันธ์ เชื่อมใจกันและกันให้แนบแน่นยิ่งขึ้น**
- พูดในระดับความต้องการ ความขัดแย้งจะไม่เกิด (เขาให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร เขาถึงมีพฤติกรรมแสดงออกมาแบบนี้ เมื่อเข้าใจก็เกิดความเห็นอก เห็นใจ ได้ใจ เป็นพวกเดียวกันเกิดความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน)
- พูดอย่างมีสติ เนื่องจากคำที่เราพูด มีผลกับตัวเราเองและคนฟังรอบตัว ลดการพูดเชิงประโยคคำสั่ง (ให้ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร) เป็นใช้ต่อมเมตตา ต่อมสามัญสำนึก นึกถึงใจเขาใจเราก่อนที่ปล่อยคำพูดของเราออกไป
.
ต่อจากนี้...ฝึกทำได้ในทุกๆ วัน
1. หู (รับฟัง)
2. สมอง (เช็คความรู้สึก ความต้องการของผู้พูด)
3. ใจ (หาเจตนาจริงๆ ของผู้พูด ตรวจสอบตัวเราเองว่าต้องการให้ผลลัพธ์และความสัมพันธ์หลังการพูดของคุณเสร็จสิ้นลงแบบไหน)
4. ร่างกาย (เลือกการแสดงออก/แสดงพฤติกรรม เลือกคำพูด โทนเสียง สีหน้า ท่าทาง แบบที่ต้องการ สะท้อนความเข้าใจตัวเองและเข้าใจผู้พูด)
5. ปาก (พูดสิ่งที่อยู่ในใจ พูดผ่านความเข้าใจ ความต้องการที่สะท้อนคุณค่าภายใน พูดให้ผลลัพธ์และความสัมพันธ์หลังการพูดของคุณเสร็จสิ้น จบลงในแบบที่ต้องการ)
6. สื่อสารโต้ตอบเชื่อมความสัมพันธ์ (เข้าใจโลกภายใน คุณค่า ความต้องการ เจตนาของกันและกัน)
.
พูดชื่นชม ห่วงใย บอก แนะนำ พูดด้วยการเข้าใจความรู้สึก ความต้องการ ของตัวเองและผู้อื่น ใช้คำพูดบวกๆ กับสถานการณ์ต่างๆ รอบตัว เข้าใจตัวเอง เพื่อเข้าใจผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน คำพูดสะท้อนโลกภายในหรือตัวตนของคนพูด ตั้งใจพูดโดยเจตนามากขึ้น ด้วยการพูดแบบให้ผลลัพธ์และความสัมพันธ์หลังการพูดของคุณเสร็จสิ้นลงเป็นไปในแบบบวกๆ (ผลลัพธ์ที่ดี ความสัมพันธ์ที่ดี) == พูดเป็นคนฟัง ถึงพูดไม่ดัง ก็ได้ใจ == อยากให้คนฟังมีพฤติกรรมที่ปลอดภัย ก็พูดด้วยหัวใจ ด้วยความห่วงใย แล้วถามให้เขาได้คิด รับฟังคำตอบสักนิดว่าตอบอะไร ว่าเหตุผลจริงๆ คืออะไร ให้โอกาสในการช่วยกันคิด ร่วมตัดสินใจ และเลือกทางออกที่ดีเพื่อมีพฤติกรรมความปลอดภัยและได้เชื่อมสัมพันธ์ทางใจไปพร้อมกัน
.
ด้วยรักและห่วงใย
จากใจ...โค้ชออนซ์

หลักสูตรจากโค้ชออนซ์
"โค้ชออนซ์...ช่วยคุณได้"
👍รับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่อง Safety ฟรี "จบในแผ่นเดียว" จากโค้ชออนซ์
บน Facebook fan page : @SAFETYandNLPbycoachonze

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น